📌 อธิบายชัดทำไมตึกถึงถล่ม? จากเหตุแผ่นดินไหวเมื่อวานนี้

.

เมื่อวันที่ 28 มีนาคมที่ผ่านมา เกิดเหตุแผ่นดินไหวขนาด 8.2 แมกนิจูด มีศูนย์กลางในประเทศเมียนมา ส่งผลให้เกิดแรงสั่นสะเทือนรุนแรงในหลายพื้นที่ รวมถึงประเทศไทย และทำให้อาคารสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) ที่อยู่ระหว่างการก่อสร้างได่พังถล่มลงมาอย่างรวดเร็ว

.

รศ.ดร.เฉลิมเกียรติ วงศ์วนิชทวี จากภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม ได้ให้ความเห็นเกี่ยวกับสาเหตุของการพังถล่ม โดยระบุว่า แรงเฉือน (Shear Force) และแรงบิด (Torsion) ที่เกิดขึ้นในเสาด้านล่างของอาคารเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้อาคารพังลงมาอย่างรวดเร็ว

----

🔸 1) แรงเฉือนคืออะไร และเกิดขึ้นได้อย่างไร?

• แผ่นดินไหวทำให้พื้นอาคารสั่นไปมา เกิดแรงด้านข้าง (Lateral Force) ที่กระทำต่อเสา

• เสาด้านล่างต้องรับแรงเฉือนสูงสุด เนื่องจากต้องรองรับน้ำหนักจากโครงสร้างด้านบน

• เมื่อแรงเฉือนสะสมมากเกินไป อาจทำให้เสาแตกร้าวหรือพังได้

----

🔸 2) ลักษณะของความเสียหายจากแรงเฉือน (Shear Failure)

• เกิดรอยร้าวแนวทะแยง (Diagonal Cracks) ที่เสา มักทำมุมประมาณ 45 องศา

• รอยร้าวขยายตัวอย่างรวดเร็ว แตกต่างจากการเสียหายแบบดัดงอ (Flexural Failure) ที่พัฒนาอย่างช้าๆ

• คอนกรีตแตกร่อน (Spalling) ทำให้เหล็กเสริมภายในโผล่ออกมา

• หากเกิดแรงเฉือนเสาจะพังทันทีโดยไม่มีสัญญาณเตือนล่วงหน้า

----

🔸 3) วิธีป้องกันการพังถล่มของอาคารจากแรงเฉือน

• เพิ่มเหล็กเสริมโครงขวาง (Stirrup Reinforcement) : ช่วยต้านแรงเฉือนและเพิ่มความเหนียว (Ductility) ให้กับเสา

• ออกแบบให้เสาแข็งแรงกว่าคาน (Strong Column – Weak Beam Concept) : ทำให้เกิดการเสียหายที่คานก่อน ซึ่งปลอดภัยกว่าการให้เสาพัง

• เสริมกำลังโครงสร้าง : ใช้คาร์บอนไฟเบอร์ (FRP Wrapping) หรือปลอกเหล็ก (Steel Jacketing) เพื่อเพิ่มความแข็งแรงของเสา

• ติดตั้ง Shear Wall และ Bracing : ระบบโครงสร้างที่ช่วยรองรับแรงแผ่นดินไหวและแรงลม